ความหมายของความคิดสร้างสรรค์
ทอร์แรนซ์ กล่าวว่า “ความคิดสร้างสรรค์ หมายถึง
กระบวนการที่บุคคลไวต่อปัญหา ข้อบกพร่อง ช่องว่างในด้านความรู้ สิ่งที่ขาดหายไป
หรือสิ่งที่ไม่ประสานกันและไวต่อการแยกแยะ สิ่งต่างๆ
ไวต่อการค้นหาวิธีการแก้ไขปัญหา ไวต่อการเดาหรือการตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับข้อบกพร่อง
ทดสอบและทดสอบอีกครั้งเกี่ยวกับสมมติฐาน
จนในที่สุดสามารถนำเอาผลที่ได้ไปแสดงให้ปรากฎแก่ผู้อื่นได้”
กิลฟอร์ด กล่าวว่า “ความคิดสร้างสรรค์เป็นความสามารถทางสมองในการคิดหลายทิศทาง
ซึ่งมีองค์ประกอบความสามารถในการริเริ่ม ความคล่องในการคิด ความยืดหยุ่นในการคิด
และความสามารถในการแต่งเติมและให้คำอธิบายใหม่ที่เป็นการติดตามหลักเหตุผลเพื่อหาคำตอบที่ถูกต้องเพียงคำตอบเดียง
แต่องค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของความคิดสร้างสรรค์คือความคิดริเริ่ม นอกจากนี้
กิลฟอร์ดเชื่อว่า ความคิดสร้างสรรค์ไม่ใช่พรสวรรค์ที่บุคคลมี
แต่เป็นคุณสมบัติที่มีอยู่ในตัวบุคคลซึ่งมีมากน้อยไม่เท่ากัน
และบุคคลแสดงออกมาในระดับต่างกัน”
นอกจากนี้ กิลฟอร์ด (Guilford, 1959 : 145
– 151, อ้างจาก กรรณิการ์ สุขุม , 2533
ได้ศึกษาลักษณะพื้นฐานของผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งมาทั้งหมด 5 ประการ ดังนี้
1. ความรู้สึกไวต่อปัญหา หมายถึง
บุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์จะมีความสามารถในการจดจำปัญหาต่างๆ
รวมทั้งความสามารถในการเข้าถึงหรือการทำความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่เข้าใจผิด
สิ่งที่ขาดข้อเท็จจริง สิ่งที่เป็นมโนทัศน์ที่ผิดหรืออุปสรรคต่างๆ ที่ยังมืดมนอยู่
ซึ่งพอจะสรุปได้ว่า ความรู้สึกไวต่อปัญหาของบุคคลเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด
เพราะบุคคลจะไม่สามารถแก้ปัญหาจนกว่าเขาจะได้รู้ว่าปัญหานั้นคืออะไร
หรืออย่างน้อยเขาจะต้องรู้ว่าเขากำลังประสบปัญหาอยู่
2. ความคล่องในการคิด หมายถึง
บุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์จะมีความสามารถในการผลิตแนวความคิดจำนวนมากในเวลาอันรวดเร็ว
แล้วเลือกแนวความคิดที่ดีที่สุดมาใช้แก้ปัญหา
สิ่งที่แสดงลักษณะพิเศษของความคล่องในการคิด
นอกจากการผลิตแนวความคิดที่มากมายและรวดเร็วแล้ว
แนวความคิดที่ผลิตขึ้นมาใหม่นั้นควรจะเป็นแนวความคิดที่แปลงใหม่
และดีกว่าแนวความคิดที่อยู่ในปัจจุบัน นอกจากนั้น
บุคคลที่ได้ชื่อว่ามีความคล่องในการคิด
จะต้องมีความสามารถปรับเปลี่ยนทิศทางในการคิดได้เป็นอย่างดี
3. ความคิดริเริ่ม หมายถึง
บุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์จะมีความสามารถในการค้นหาแนวทางใหม่ๆ หรือวิธีการแปลงๆ
แตกต่างกันออกไปมาใช้ในการแก้ปัญหา
ความคิดริเริ่มเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะในวงการธุรกิจ
ผู้บริหารจำเป็นที่จะต้องแสวงหาแนวทางใหม่ๆ มาแก้ปัญหาที่เปลี่ยนแปรไป
นอกจากจะต้องแสวงหาแนวทางใหม่ๆ แล้ว ยังจำเป็นจะต้องปรับปรุงแนวทางใหม่ๆ
เหล่านี้มาช่วยแก้ไขปัญหาที่คิดขึ้นในสภาพการณ์ใหม่ๆ ดังนั้น
นักบริหารจำเป็นจะต้องสร้าง “ความคิดริเริ่ม” ให้เกิดขึ้น
ที่กล่าวว่าความคิดริเริ่มเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับนักบริหารในวงการธุรกิจ
ก็เนื่องมาจากว่าการประกอบธุรกิจนั้นมีการแข่งขั้นกันมาก
โดยเฉพาะในด้านการผลิตสินค้าให้เป็นที่ต้องการของตลาด ให้มีความแปลงกใหม่ คุณภาพดี
และราคาถูก ซึ่งความคิดริเริ่มจะช่วยแก้ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ได้มาก
4. ความยืดหยุ่นในการคิด หมายถึง
บุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์จะมีความสามารถในการหาวิธีการหลายๆ วิธีมาแก้ไขปัญหา
แทนที่จะใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่งเพียงวิธีเดียว
บุคคลที่มีความยืดหยุ่นในการคิดจะจดจำวิธีแก้ปัญหาที่เคยใช้ไม่ได้ผลทั้งนี้
เพื่อที่จะไม่นำมาใช้ซ้ำอีก แล้วพยายามเลือกหาวิธีการใหม่ที่คิดว่าแก้ปัญหาได้มาแทน
ซึ่งความยืดหยุ่นในการคิดจะมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับความคล่องในการคิดนั่นคือ
ความยืดหยุ่นในการคิดและความคล่องในการคิดจะเป็นความสามารถของบุคคลในการหาวิธีการคิดหลายๆ
วิธีเพื่อใช้ในการแก้ปัญหา เป็นความจริงที่ว่า
บุคคลสร้างแนวความคิดหรือวิธีการแก้ไขปัญหาได้ 20 – 30 วิธี
เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาซึ่งจะได้ผลดีกว่าบุคคลที่หาวิธีการแก้ไขปัญหาเพียง
2 – 3
วิธีและใช้ไม่ได้ผล ดังนั้น
ถ้าบุคคลจะพัฒนาหรือปรับปรุงความยืดหยุ่นในการคิด
ก็จะกระทำได้โดยการพยายามหาวิธีการแก้ปัญหาหลายๆ วิธีและวิเคราะห์ปัญหาในหลายมุมมอง
ซึ่งจะช่วยให้เขาพัฒนาความยืดหยุ่นทางการคิดได้เป็นอย่างดี
5. แรงจูงใจ หมายถึง
บุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์สูงมักมีแรงจูงใจสูง
เพราะแรงจูงใจเป็นลักษณะสำคัญของบุคคลในการที่จะแสงตนว่าเป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์
แรงจูงใจนี้สามารถทำให้บุคคลกล่าวแสดงความพิเศษที่ไม่เหมือนใครออกมาอย่างเต็มที่
หรืออาจจะมากกว่าคนอื่นๆ บุคคลที่มีแรงจูงใจสูงนี้
จะให้ความสนใจในการหาแนวทางแก้ปัญหาด้วยความกระตือรือล้นและสิ่งที่ผลักดันให้เกิดความกระตือรือล้น
ก็คือ แรงจูงใจ เนื่องจากแรงจูงใจเป็นสิ่งที่สำคัญของการตระเตรียมปัญหา
เราพบว่าความสำเร็จในชีวิตส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับแรงจูงใจ เทยเลอร์และฮอล์แลนด์
ชี้ให้เห็นว่าคนที่มีความคิดสร้างสรรค์มักจะมีแรงจูงใจสูงในการที่จะทำให้ผลผลิตดีขึ้นด้วย
ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์
อี
พอล ทอร์แรนซ์ (E. Paul Torrance)
นิยามความคิดสร้างสรรค์ว่าเป็นกระบวนการของความรู้สึกไวต่อปัญหา
หรือสิ่งที่บกพร่องขาดหายไปแล้วรวบรวมความคิดตั้งเป็นสมมติฐานขึ้น
ต่อจากนั้นก็ทำการรวบรวมข้อมูลต่างๆ เพื่อทดสอบสมมติฐานนั้น
กระบวนการเกิดความคิดสร้างสรรค์ตามทฤษฎีของทอร์แรนซ์
สามารถแบ่งออกเป็น 5 ขั้นดังนี้
1. การค้นหาข้อเท็จจริง
(Fact Finding) เริ่มจากการความรู้สึกกังวล
สับสนวุ่นวาย แต่ยังไม่สามารถหาปัญหาได้ว่าเกิดจากอะไร
ต้องคิดว่าสิ่งที่ทำให้เกิดความเครียดคืออะไร
2. การค้นพบปัญหา (Problem – Finding)
เมื่อคิดจนเข้าใจจะสามารถบอกได้ว่าปัญหาต้นตอคืออะไร
3. กล้าค้นพบความคิด (Ideal – Finding)
คิดและตั้งสมมติฐาน
ตลอดจนรวบรวมข้อมูลต่างๆ เพื่อทดสอบความคิด
4. การค้นพบคำตอบ (Solution – Finding)
ทดสอบสมมติฐานจนพบคำตอบ
5. การยอมรับจากการค้นพบ
(Acceptance – Finding)
ยอมรับคำตอบที่ค้นพบและคิดต่อว่าการค้นพบจะนำไปสู่หนทางที่จะทำให้เกิดแนวความคิดใหม่ต่อไปที่เรียกว่า
การท้าทายในทิศทางใหม่ (New
Challenge)
บุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์
(Creative
Person)
หมายถึง
ลักษณะพฤติกรรมของบุคคลที่แสดงออกมา แมคินนอน (Mackinnon, 1960)
ได้ศึกษาคุณลักษณะของผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์
พบว่าผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์จะเป็นผู้ที่ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา
มีความสามารถในการใช้สมาธิ มีความสามารถในการพินิจวิเคราะห์
ความคิดถี่ถ้วนเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาและมีความสามารถในการสอบสวน
ค้นหารายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างละเอียดกว้างขวาง
คุณลักษณะอีกประการหนึ่งก็คือ เป็นผู้ที่เปิดรับประสบการณ์ต่างๆ อย่างไม่หลีกเลี่ยง
(Openness
to Experience) ชอบแสดงออกมามากกว่าที่จะเก็บกดไว้
และยังกล่าวเพิ่มเติมว่า
สถาปนิกที่มีความคิดสร้างสรรค์สูงมักเป็นคนที่รับรู้สิ่งต่างๆ
ได้ดีกว่าสถาปนิกที่มีความคิดสร้างสรรค์ต่ำ กรีสวอลด์ (Griswald, 1966)
ยังพบว่าบุคคลดังกล่าวจะมองเห็นลู่ทางที่จะแก้ปัญหาได้ดีกว่า
เนื่องจากมีความตั้งใจจริง มีการรับรู้เร็วและง่าย และมีแรงจูงใจสูง
ฟรอมม์ (Fromm, 1963)
กล่าวถึงลักษณะของคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ไว้ค่อนข้างละเอียดดังนี้
1. มีความรู้สึกทึ่ง
ประหลายใจที่พบเห็นของใหม่ที่น่าทึ่ง (Capacity of be
puzzled) หรือประหลาดใจ
สนใจสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ หรือของใหม่ๆ
2. มีสมาธิสูง (Ability to
Concentrate) การที่จะสร้างสิ่งใดก็ได้
คิดอะไรออกก็ต้องไตร่ตรองในเรื่องนั้นเป็นเวลานาน
ผู้ที่สร้างสรรค์จำเป็นจะต้องมีความสามารถทำจิตใจให้เป็นสมาธิ
3. สามารถที่จะยอมรับสิ่งที่ไม่แน่นอนและเป็นสิ่งที่เป็นข้อขัดแย้งและความตึงเครียดได้
(Ability
to accept conflict and tension)
4. มีความเต็มใจที่จะทำสิ่งต่างๆ
ที่เกิดขึ้นใหม่ทุกวัน (Wllingness to be born
everyday) คือ
มีความกล้าหายและศรัทธาที่จะผจญต่อสิ่งแปลงใหม่ทุกวัน
บารอนและเวลซ์ (Baron and Welsh,
1952) พบว่า
คนที่มีความคิดสร้างสรรค์นั้นชอบคิดอย่างซับซ้อน
และสนุกตื่นเต้นกับการค้นคว้าสิ่งต่างๆ ตลอดเวลา
แกริสัน (Garison, 1954)
ได้อธิบายถึงลักษณะของผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ไว้ดังนี้
1. เป็นคนที่สนใจในปัญหา
ยอมรับความเปลี่ยนแปลง ไม่ถอยหนีปัญหาที่จะเกิดขึ้น แต่กล้าที่จะเผชิญปัญหา
กระตือรือร้น
ที่จะแก้ไขปัญหาตลอดจนหาทางปรับปรุงเปลี่ยนแปลงพัฒนาตนและงานอยู่เสมอ
2. เป็นคนมีความสนใจกว้างขวาง
ทันต่อเหตุการณ์รอบด้านต้องการการเอาใจใส่ในการศึกษาหาความรู้จากแหล่งต่างๆ
เพิ่มเติมอยู่เสมอ พร้อมทั้งยอมรับข้อคิดเห็นจากข้อเขียนที่มีสาระประโยชน์
และนำข้อมูลเหล่านั้นมาประกอบใช้พิจารณาปรับปรุงพัฒนางานของตน
3. เป็นคนที่ชอบคิดหาทางแก้ปัญหาได้หลายๆ
ทาง เตรียมทางเลือกสำหรับแก้ไขปัญหาไว้มากกว่า 1 วิธีเสมอ
ทั้งนี้เพื่อจะช่วยให้มีความคล่องตัวและประสบผลสำเร็จมากขึ้น
เพราะการเตรียมทางแก้ไว้หลายๆ ทางย่อมสะดวกในการเลือกใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ได้
และยังเป็นการประหยัดเวลาและเพิ่มกำลังใจในการแก้ไขปัญหาด้วย
4. เป็นคนที่มีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ
หรือสุขภาพกายดีสุขภาพจิตก็ดีนั่นเอง ทั้งนี้เพราะมีการพักผ่อนหย่อนใจอย่างเพียงพอ
และมีความสนใจต่อสิ่งใหม่ที่พบ และยังเป็นช่างซักถามและจดจำได้ดี
ทำให้สามารถนำข้อมูลที่จดจำมาใช้ประโยชน์ได้ดี
จึงทำให้งานดำเนินไปได้ด้วยดี
5. เป็นคนที่ยอมรับและเชื่อในบรรยากาศและสภาพแวดล้อมว่ามีผลกระทบต่อความคิดสร้างสรรค์
ดังนั้น การจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมว่า มีผลกระทบต่อความคิดสร้างสรรค์ดังนั้น
การจัดบรรยากาศ สถานที่ สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม จะสามารถขจัดสิ่งรบกวนและอุปสรรค
ทำให้การพัฒนาการคิดสร้างสรรค์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ทอร์แรนซ์
ได้สรุปลักษณะของบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์สูง
จากผลการศึกษาของ
สเตนน์และเฮนซ์ (Stein and Heinze, 1690) ซึ่งได้ศึกษาบุคลิกภาพของเด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์สูง โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์ซึ่งเป็นแบบวัดบุคลิกภาพ Minnesota Multiphasic Personality Inventory (MMPI), Thematic Apperceprtion (TAT), แบบวัดบุคลิกภาพของรอร์ชาจ (Rorschach) และอื่นๆ ซึ่งได้สรุปบุคลิกภาพที่สำคัญๆ ของบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์สูงไว้ 46 ประการ ดังนี้
สเตนน์และเฮนซ์ (Stein and Heinze, 1690) ซึ่งได้ศึกษาบุคลิกภาพของเด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์สูง โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์ซึ่งเป็นแบบวัดบุคลิกภาพ Minnesota Multiphasic Personality Inventory (MMPI), Thematic Apperceprtion (TAT), แบบวัดบุคลิกภาพของรอร์ชาจ (Rorschach) และอื่นๆ ซึ่งได้สรุปบุคลิกภาพที่สำคัญๆ ของบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์สูงไว้ 46 ประการ ดังนี้
1.
มีความสามารถในการตัดสินใจ
2.
มีความเป็นอิสระในด้านการคิด
3.
มีอารมณ์อ่อนไหวและเป็นคนอ่อนโยน
4.
มีความกล้าที่จะคิดในสิ่งที่แปลงใหม่
5.
มีแนวคิดค่อนข้างซับซ้อน
6.
มีความคิดเห็นรุนแรง
7.
มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง
8.
มีความพยายามที่จะทำงานยากๆ
หรืองานที่ต้องแก้ปัญหา
9.
มีความจำแม่นยำ
10. มีความรู้สึกไวต่อสิ่งสวยงาม
11. มีความซื่อสัตย์และรักความเป็นธรรม
12. มีความเป็นอิสระในการตัดสินใจ
13. มีความตั้งใจจริง
14. มีความสามารถในการหยั่งรู้
15. มักจะกล้าหาญและชอบการผจญภัย
16. มักจะใช้เวลาให้เป็นประโยชน์
17. มักจะคาดคะเนหรือเดาเหตุการณ์ล่วงหน้า
18. มักจะช่วยเหลือและให้ความรู้แก่ผู้อื่น
19. มักจะต่อต้านในสิ่งที่ไม่เห็นด้วย
20. มักจะทำผิดข้อบังคับและกฎเกณฑ์
21. มักจะวิเคราะห์วิจารณ์สิ่งที่พบเห็น
22. มักจะทำงานผิดพลาด
23. มักจะทำในสิ่งแปลกๆ
ใหม่ๆ
24. มักจะรักสันโดษ
25. มักจะเห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่นมากกว่าประโยชน์ของตนเอง
26. มักให้ความสนใจกับทุกสิ่งที่อยู่รอบตัว
27. มักจะอยากรู้อยากเห็น
28. มักจะยอมรับในสิ่งที่ไม่เป็นระเบียบ
29. มักจะไม่ทำตามหรือเลียนแบบผู้อื่น
30. มักจะหมกมุ่นในปัญหา
31. มักจะดื้อดึงและหัวแข็ง
32. มักจะช่างซักถาม
33. มักจะไม่สนใจในสิ่งเล็กๆ
น้อยๆ
34. มักจะไม่ยอมรับความคิดของผู้อื่นโดยง่าย
35. มักจะกล้าแสดงความคิดเห็นที่ไม่ตรงกับผู้อื่น
36. มักจะรักและเต็มใจเสี่ยง
37. มักจะไม่เบื่อที่จะทำกิจกรรม
38. มักจะไม่ชอบทำตัวเด่น
39. มักจะมีความสามารถในการหยั่งรู้
40. มักจะพอใจในผลงานที่ท้าทาย
41. มักจะไม่เคยเป็นศัตรูของใคร
42. มักจะต่อต้านกฎระเบียบต่างๆ
ที่ไม่ถูกต้อง
43. มักจะวางเป้าหมายให้กับชีวิตตนเอง
44. มักจะต่อต้านการกระทำที่รุนแรงต่างๆ
45. มักจะจริงใจกับทุกๆ
คน
46. มักจะเลี้ยงตนเองได้โดยที่ไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่น
ผลผลิตสร้างสรรค์ (Creative
Product)
ลักษณะของผลผลิตนั้น
โดยเนื้อแท้เป็นโครงสร้างหรือรูปแบบของความคิดที่ได้แสดงกลุ่มความหมายใหม่ออกมาเป็นอิสระต่อความคิดหรือสิ่งของที่ผลิตขึ้น
ซึ่งเป็นไปได้ทั้งรูปธรรมและนามธรรม
นิวเวลล์ ชอว์ และซิมป์สัน
(Newell,
show and Simpson, 1963) ได้พิจารณาผลผลิตอันใดอันหนึ่งที่จัดเป็นผลผลิตของความคิดสร้างสรรค์
โดยอาศัยหลักเกณฑ์ต่อไปนี้
1. เป็นผลผลิตที่แปลงใหม่และมีค่าต่อผู้คิดสังคมและวัฒนธรรม
2. เป็นผลผลิตที่ไม่เป็นไปตามปรากฎการณ์นิยมในเชิงที่ว่ามีการคิดดัดแปลงหรือยกเลิกผลผลิต
หรือความคิดที่เคยยอมรับกันมาก่อน
3. เป็นผลผลิตซึ่งได้รับจากการกระตุ้นอย่าสูงและมั่นคง
ด้วยระยะยาวหรือความพยายามอย่างสูง
4. เป็นผลผลิตที่ได้จากการประมวลปัญหา
ซึ่งค่อนข้างจะคลุมเครือและไม่แจ่มชัด
สำหรับเรื่องคุณภาพของผลผลิตสร้างสรรค์นั้น
เทเลอร์ (Tayler, 1964)
ได้ให้ข้อคิดเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ของคนว่าไม่จำเป็นต้องเป็นขั้นสูงสุดยอดหรือการค้นคว้าประดิษฐ์ของใหม่ขึ้นมาเสมอไป
แต่ผลของความคิดสร้างสรรค์อาจจะอยู่ในขั้นใดขั้นหนึ่งต่อไปนี้
โดยแบ่งผลผลิตสร้างสรรค์ไว้เป็นขั้นๆ ดังนี้
1. การแสดงออกอย่างอิสระ
ในขั้นนี้ไม่จำเป็นต้องอาศัยความคิดริเริ่มและทักษะขั้นสูงแต่อย่างใด
เป็นเพียงแต่กล้าแสดงออกอย่างอิสระ
2. ผลิตงานออกมาโดยที่งานนั้นอาศัยบางประการ
แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งใหม่
3. ขั้นสร้างสรรค์เป็นขั้นที่แสดงถึงความคิดใหม่ของบุคคลไม่ได้ลอกเลียนมาจากใคร
แม้ว่างานนั้นอาจจะมีคนอื่นคิดเอาไว้แล้วก็ตาม
4. ขั้นคิดประดิษฐ์อย่างสร้างสรรค์
เป็นขั้นที่สามารถคิดประดิษฐ์สิ่งใหม่ขึ้น โดยไม่ซ้ำแบบใคร
5. เป็นขั้นการพัฒนาผลงานในขั้นที่
4
ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
6. เป็นขั้นความคิดสร้างสรรค์สูงสุด
สามารถคิดสิ่งที่เป็นนามธรรมขั้นสูงได้ เช่น ชาร์ลส์ ดาร์วิน คิดค้นทฤษฎีวิวัฒนาการ
ไอสไตน์ คิดทฤษฎีสัมพันธภาพขึ้น เป็นต้น
เทคนิคการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
1. เทคนิคความกล้าที่จะริเริ่ม
จากการวิจัยพบว่า ความคิดสร้างสรรค์ต่ำ
สามารถปลูกฝังและส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์สูงขึ้นได้ ด้วยการถามคำถาม
และให้โอกาสได้คิดคำตอบในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย เป็นที่ยอมรับของผู้อื่น
สามารถพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นได้
แม้บุคคลที่มีความคิดว่าตนเองไม่มีความคิดสร้างสรรค์ก็สามารถสร้างความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นด้วยการฝึกฝน
2. เทคนิคการสร้างความคิดใหม่
เป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้การแก้ไขปัญหา สมิท (Smith, 1958)
ได้เสนอวิธีการสร้างความคิดใหม่
โดยการให้บุคคลแจกแจงแนวทางที่สามารถใช้ในการแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่งมา 10 แนวทาง
จากนั้นจึงแบ่งแนวทางเหล่านั้นออกเป็นแนวทางย่อยๆ ลงไปอีก
โดยเหตุผลที่ว่าบุคคลมักจะปฏิเสธไม่ยอมรับความคิดแรกหรือสิ่งแรกผ่านเข้ามาในจิตใจ
แต่จะพยายามบังคับให้จิตใจแสดงทางเลือกอื่นๆ อีก หลักการของสมิธ
มีลักษณะเป็นผสมผสานหรือการคัดเลือกคำตอบ หรือทางเลือกต่างๆ
แล้วสร้างขึ้นเป็นคำตอบหรือทางเลือกที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหา
3. เทคนิคการระดมพลังสมอง
เป็นเทคนิควิธีหนึ่งในการแก้ปัญหาของออสบอร์น (Alex Osborn)
จุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมให้บุคคลมีความคิดหลายทาง
คิดได้คล่องในช่วงเวลาจำกัด โดยการให้บุคคลเป็นกลุ่มหรือรายบุคคลก็ได้
จดรายการความคิดต่างๆ ที่คิดได้โดยๆ ไม่คำนึงถึงการประเมินความคิด
แต่เน้นปริมาณความคิด คิดให้ได้มาก คิดให้แปลง หลังจากได้รวบรวมความคิดต่างๆ แล้ว
จึงค่อยประเมินเลือกเอาความคิดที่ดีที่สุดมาใช้ในการแก้ปัญหาและจัดลำดับทางเลือกหรือทางแก้ปัญหารองๆ
ไว้ด้วย
หลักเกณฑ์ในการระดมสมอง
3.1
ประวิงการตัดสินใจ
เมื่อบุคคลเสนอความคิดขึ้นมา
จะไม่มีการวิพากษ์ วิจารณ์ หรือตัดสินความคิดใดๆ ทั้งสิ้น
ไม่ว่าจะเป็นความคิดที่เห็นว่าดี มีคุณภาพ หรืออาจมีประโยชน์น้อยก็ตาม
การตัดสินใจยังไม่กระทำในตอนเริ่มต้นคิด
3.2
อิสระทางความคิด
บุคคลมีอิสระที่จะคิดหาคำตอบ หรือเสนอความคิด
ความคิดยิ่งแปลงแตกต่างจากผู้อื่นยิ่งเป็นความคิดที่ดี
เพราะความคิดแปลกแยกอาจนำไปสู่ความคิดริเริ่ม
3.3
ปริมาณความคิด
บุคคลยิ่งคิดได้มาก ได้เร็ว
ยิ่งเป็นที่ต้องการส่งเสริมและกระตุ้นให้บุคคลคิดมากๆ ได้ยิ่งดี
3.4
การปรุงแต่งความคิด
ความคิดที่ได้เสนอไว้ทั้งหมด
นำมาประมวลกันแล้วพิจารณาตัดสินจัดลำดับความสำคัญของความคิด
โดยใช้เกณฑ์กำหนดในเรื่องของเวลา บุคคลงบประมาณ ประโยชน์ เป็นต้น
จากการทดลองใช้วิธีระดมสมองของพานส์ และมีโด
ในการหาวิธีการแก้ปัญหาปรากฏว่า กลุ่มที่ใช้เทคนิคระดมพลังสมอง
มีความคิดแก้ปัญหาได้มาก
และได้ผลกว่ากลุ่มที่ออกความคิดเห็นเฉพาะความคิดที่ดีและเกี่ยวเนื่องกันเท่านั้น
ซึ่งสอดคล้องกับผลการทดลองของทอร์แรนซ์ ที่ทำการทดลองกับนิสิตระดับปริญญาโท จำนวน
100 คน โดยให้นิสิตกลุ่มที่ 1 อ่านบทความแล้วหาที่ติข้อบกพร่องของบทความ ส่วนนิสิตกลุ่มที่ 2 อ่านแล้วคิดเพิ่มเติม หลังจากนั้นให้นิสิตทั้ง 2
กลุ่ม คิดหาวิธีการแก้ปัญหาจากบทเรียน ปรากฏว่า นิสิตกลุ่มที่ 2 มีความคิดเกี่ยวกับปัญหาและโครงงานที่จะทำได้มากและกว้างขวางกว่ากลุ่มที่
1
4. เทคนิคอุปมาอุปไมยความเหมือน เป็นวิธีการที่กอร์ดอน
(James Gordon) คิดขึ้นโดยใช้หลักการคิด 2 ประการ คือ “ทำสิ่งที่คุ้นเคยให้เป็นสิ่งแปลกใหม่” และ
“ทำสิ่งที่แปลงใหม่ให้เป็นสิ่งที่คุ้นเคย” กล่าวคือ การคิดจากสิ่งที่บุคคลคุ้นเคย รู้จัก ไม่รู้สิ่งที่แปลกใหม่
หรือยังไม่คุ้นเคย และในทำนองเดียวกัน ก็อาจคิดจากสิ่งที่แปลกใหม่ไม่คุ้นเคย
ไม่รู้สิ่งธรรมดาหรือคุ้นเคย ซึ่งจากความคิดลักษณะนี้
ทำให้นักคิดสร้างสรรค์สามารถสร้างสรรค์ผลงานที่แปลกใหม่ได้มาก ตัวอย่างเช่น
“การคิดเข็มฉีดยา” ก็เกิดความคิดจากการที่ถูกยุงกัดและดูดเลือดขึ้นมา เป็นต้น
การคิดจากสิ่งที่คุ้นเคยไปสู่สิ่งแปลกใหม่
และคิดจากสิ่งแปลกใหม่ไปสู่สิ่งคุ้นเคย ทำได้โดยใช้การเปรียบเทียบอุปมาอุปไมย
จากรูปลักษณะหรือหน้าที่ของสิ่งที่คิด
วิธีการนี้มักจะเน้นการแสดงความคิดและอารมณ์ผสมผสาน
เพื่อให้เกิดการกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์โดยการใช้ลักษณะความเหมือนหรือความคล้ายคลึงของสิ่งของ
ซึ่งการคิดลักษณะเช่นนี้ ทำให้ความคิดเจริญงอกงาม บุคคลสามารถเข้าใจสิ่งใหม่ๆ
ได้โดยการเปรียบเทียบกับสิ่งเก่าที่เป็นที่รู้จักกันดีแล้ว ตัวอย่างเช่น สมัยก่อน
เราเรียกรถไฟว่า “ม้าเหล็ก” และพยายามอ้างถึงสิ่งที่รู้จักอยู่ตลอดเวลา เช่น มักจะพูดว่า “ค้อนมีหัว” “โต๊ะมีขา” “ถนนมีไหล่” เป็นต้น
ตัวอย่าง วิธีการคิดอุปมาอุปไมย “สหภาพแรงงาน”
ย้อนกลับไปใน ค.ศ. 1930 สหภาพแรงงานเปรียบเทียบได้กับสาวสวยอายุ 21 ปี
เธอมีรูปร่างหน้าตาดี บุคลิกชวนมอง และเธอมีแรงดึงดูดให้คนเป็นจำนวนมากกว่าปกติถึง
40 ปอนด์ ใบหน้าเหี่ยวย่นและรูปร่างไม่เอาไหนเลย
แต่ปัญหาก็คือ เธอยังคิดเธออายุเพียง 21
ปีเท่านั้น
วิธีการคิดอุปมาอุปไมย
จากลักษณะความเหมือนมีดังนี้
1. เปรียบเทียบความเหมือนโดยตรง (Direct Analog) เป็นเปรียบเทียบในรูปลักษณะที่เป็นจริงทั้งความรู้และเทคโนโลยีในสิ่งที่นำมาพิจารณา
ตัวอย่างเช่น Sir March Isumbard Brunel สังเกตหนอนชนิดหนึ่งที่ขุดรูอยู่เป็นทางยาวคล้ายๆ ท่อตามต้นไม้
ตัวเขาเองกำลังคิดสร้างท่อน้ำใต้ดินอยู่ จึงคิดเปรียบเทียบท่อน้ำใหญ่
และรังของหนอนมีลักษณะคล้ายกัน แต่มีวิธีการสร้างรังของหนอนเป็นที่น่าสังเกต
เพราะมันมีอวัยวะที่ใช้ขุดไชเข้าไปในเนื้อเป็นรูปยาวคล้ายรังหนอนได้เหมือนกัน
การเปรียบเทียบลักษณะนี้ทำให้เขาประดิษฐ์เครื่องขุดท่อใต้ดินได้สำเร็จ
2. การเปรียบเทียบความรู้สึกของตนเอง (Personal
Analog) การนำเอาสิ่งของสถานการณ์เข้ามาเป็นความรู้สึกของตนเอง
โดยทำให้ตนเองเข้ามามีบทบาทไปตามสถานการณ์นั้น
อาจจะทำให้ตัวเราสามารถหาทางแก้ปัญหาได้ เช่น นักเคมี
อาจคิดเทียบตัวเองเป็นเหมือนโมเลกุลของธาตุชนิดหนึ่งที่พยายามทำปฎิกิริยาของธาตุอื่น
ฟาราเดย์ได้พยายามทำความเหมือนของตนเองให้เข้าไปอยู่ในใจกลางของสารนำไฟฟ้า
เพื่อที่จะทำให้เห็นลักษณะของอะตอมได้โดยสร้างภาพความคิด หรือเคคคูล
(Kekule) พยายามคิดว่าตนเองมีความรู้สึกเหมือนงูที่กำลังกินหางตนเอง
ขณะที่เขากำลังคิดถึงลักษณะโมเลกุลของเบนซิงริง
ซึ่งมีความน่าจะเป็นมากกว่าโมเลกุลของคาร์บอนที่มีอะตอมจับกันเป็นลูกโซ่เป็นต้น
3. การเปรียบเทียบกับสัญลักษณ์ (Symbolic Analog)
เป็นการเปรียบเทียบสิ่งต่างๆ
หรือปัญหาหรือสถานการณ์ให้เป็นไปในลักษณะของสัญลักษณ์
ซึ่งอาจเป็นการใช้ภาษาแต่งเป็นโคลง ฉันท์กาพย์กลอน หรือ
ข้อความบรรยายแสดงออกซึ่งความมีสุนทรียภาพ
การใช้สัญลักษณ์ในการเปรียบเทียบมักจะได้ความคิดที่ฉับพลันทันที
และได้ภาพพจน์ชัดเจน
4. การเปรียบเทียบโดยใช้ความคิดฝัน (Fantastic Analog)
ทุกคนมีความปรารถนาหรือความใฝ่ฝันในบางสิ่งบางอย่างซ่อนเร้นอยู่ภายในใจเสมอ
บางครั้งความคิดฝันนั้นอาจถ่ายทอดออกมาเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีคุณค่า
ในบางครั้งความคิดฝันอาจนำไปสู่วิธีการแก้ปัญหาที่แท้จริงได้
โดยเราไม่พะวงว่าความคิดนั้นจะต้องเป็นจริงเสมอไป
การใช้กระบวนการอุปมาอุปไมย
เพื่อเสริมสร้างพลังทางความคิดสร้างสรรค์จำเป็นจะต้องมีการฝึกเปรียบเทียบความคิดเปรียบเทียบ
เพื่อนำสิ่งที่แปลงใหม่เข้าสู่แนวความคิดในการแก้ไขปัญหา
หรือสร้างสรรค์ผลงานที่มนุษย์ต้องการเพื่อการดำรงชีวิตที่ดีขึ้น
ขั้นตอนการฝึกการคิดเปรียบเทียบอุปมาอุปไมย
ขั้นที่ 1 นำเข้าสู่แนวคิด
เปรียบเทียบสิ่งที่กำหนดให้ว่าเหมือนอะไร เช่น
คำถาม
ที่เหลาดินสอเหมือนกับอะไร
คำตอบ
รถตัดหญ้า เครื่องบด ปลาหมึก กว้าน สมอเรือ
ขั้นที่ 2 เปรียบเทียบโดยตรงเปรียบเทียบ
ได้ว่าเหมือนอย่างไร เช่น
รถตัดหญ้าเหมือนที่เหลาดินสออย่างไร
ขั้นที่ 3
เปรียบเทียบกับความรู้สึกของตนเองใช้ความรู้สึกตนเอง เช่น
ถ้าเป็นต้นหญ้าท่านจะรู้สึกอย่างไร
ขั้นที่ 4
เปรียบเทียบว่าเหมือนอย่างหนึ่ง แต่ไม่เหมือนกับอีกสิ่งหนึ่ง เช่น
หยดน้ำฝนเหมือนน้ำตา แต่ไม่เหมือนเมฆ เป็นต้น
5. เทคนิคการคิดอย่างมีประสิทธิภาพ
การคิดอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อสู่การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เป็นความคิดของ เอ็ดเวิด
เดอ โบโน (Edward De Bono) นักจิตวิทยาและศาสตราจารย์ทางเภสัชแห่งมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ
ได้เสนอกระบวนการคิดไว้ 7 ขั้นตอน ปรากฎว่า
เป็นที่นิยมใช้แพร่หลายและให้ได้ผลดี เดอโบโน ยังได้กล่าวไว้ว่า
การคิดอย่างสร้างสรรค์นั้นเกิดจากการคิดแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน
โดยใช้เครื่องฝึกคิด 7 ขั้น
ก็จะเพิ่มประสิทธิภาพการคิดอย่างสร้างสรรค์ของบุคคลได้ และเดอ โบโน
ยังได้จัดให้มีการคิดอย่างสร้าง
ขั้นที่ 1 ให้สนใจทั้งด้านบวกและด้านลบ
หรือเรียกย่อๆ ว่า PMI ขั้นแรกนี้ให้เริ่มคิด มองสิ่งต่างๆ
ให้กว้างขวาง โดยไม่จำกัดเฉพาะสิ่งใดสิ่งหนึ่งก่อน ตัวอย่างเช่น ให้ท่านมองดูรอบๆ
ห้องที่นั่งอยู่แล้วบอกว่า มีอะไรบ้างที่มีสีแดง เสร็จแล้วให้หลับตาแล้วถามตนเองว่า
มีอะไรบ้างที่เป็นสีเขียว แล้วลืมมองดูรอบๆ อีกครั้งหนึ่ง
จะพบว่าบุคคลจะตอบสิ่งที่เป็นสีเขียวได้น้อยมาก
ทั้งนี้เพราะบุคคลได้รับคำสั่งแรกให้ดูสีแดงจึงไม่สนใจสังเกตสีอื่นๆ
ซึ่งเขากล่าวว่าเป็นการคิดที่ไม่รอบคอบ และไม่กว้างขวาง จึงได้เสนอเทคนิค
PMI โดยการตั้งเป็นปัญหาหรือคำถามขึ้นมา ตัวอย่างเช่น
ในการอภิปรายถกเถียงเรื่องของการออกแบบสร้างรถประจำทางขึ้นใหม่
โดยมีผู้เสนอว่าควรออกแบบชนิดที่ไม่ต้องมีที่นั่งเลย โดยผู้โดยสารไหนก็ได้
ท่านมีความคิดเห็นต่อข้อเสนอดังกล่าวอย่างไรและทำไม
การฝึกความคิดแบบ PMI คือ
พยายามคิดและเขียนรายการที่เป็นรายการที่เป็นทั้งส่วนที่ดี
และส่วนที่ไม่ดีของข้อเสนอให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ รวมทั้งข้อคิดที่เป็นกลางๆ
แต่น่าสนใจจะพบว่าจะได้ทั้งข้อดีและข้อไม่ดีหลายข้ออย่างน้อยอาจคิดได้ 8 –
10 ข้อ ในช่อง 3- 4 นาที
จุดมุ่งหมายของการฝึกคิด PMI ก็เพื่อให้บุคคลเป็นคนใจกว้างในการคิด มากกว่าที่จะคิดแบบเฉพาะเจาะจง
หรือติดอยู่กับแนวคิดที่เป็นอคติขิงตน หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่า การฝึก PMI
เป็นการขยายความตั้งใจ ความสนใจให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
ป้องกันไม่ให้บุคคลยึดมั่นในสิ่งหนึ่งสิ่งใด โดยไม่คิดถึงสิ่งอื่นๆ
ขั้นที่ 2 ให้พิจารณาองค์ประกอบทั้งหมด
(Considering all factors) หรือเรียกย่อเรียกว่า CAF
ในขั้นนี้มีจุดมุ่งหมายให้แน่ใจว่าได้คิดถึงทุกๆ สิ่ง คิดถึงทุกๆ
ด้านที่เห็นว่า สำคัญที่จะช่วยในการตัดสินใจ ตัวอย่าง เช่น ถ้า
จะซื้อบ้านใหม่สักหลังหนึ่ง การคิด CAF ก็ด้วยการตั้งคำถามกับองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับบ้าน เป็นต้นว่า
ขนาดของบ้าน ราคาทิศทาง บริเวณทำเลที่ตั้ง การระบายน้ำ เป็นต้น
ซึ่งคงไม่มองเฉพาะความสวยงามมีหลายห้องสีสันถูกใจเพียงเท่านั้น
ขั้นที่ 3
การพิจารณาถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมา และลำดับที่จะเกิดขึ้น (Consequences
and sequel) หรือเรียกว่า C&S ทำให้เห็นแนวทางความเป็นไปได้หลายๆ ทาง หรือหลายแง่มุม
กระบวนการนี้จะช่วยในการตัดสินใจว่าทางใดดีที่สุดเทคนิคที่เดอ โบโน ใช้นั้นก็คือ
จินตนาการถึงผลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต 4 ระยะ คือ
ระยะทันทีทันใดหลังกระทำ ระยะสั้น ระยะยาว คือตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป ตัวอย่างเช่น คำถามว่า “อะไรจะเกิดขึ้นถ้าเราใช้น้ำมันหมดแล้ว” อะไรจะเกิดขึ้น ถ้าเราใช้เครื่องจักรแทน แรงงานมนุษย์ในโรงงานทั้งหมด
จึงจินตนาการถึงสิ่งที่เกิดมาตามลำดับ การฝึก C&S จะเกิดทักษณะนำไปประยุกต์วิธีการตัดสินใจในชีวิตได้
ขั้นที่ 4 คิดถึงจุดมุ่งหมาย
จุดมุ่งหมายปลายทาง หรือวัตถุประสงค์ เรียกย่อๆ ว่า AGO คือวิธีการที่จะให้คิดดีขึ้น คือ
การฝึกปฏิบัติเขียนรายการเหตุผลให้มากกว่าการกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ
ตัวอย่างเช่น ในการเล่นเทนนิส ชายผู้หนึ่งมักแพ้เสมอ เพราะเขาพยายาทตีลูกตบอยู่เสมอ
ทำให้ลูกติดตาข่ายประจำ แม้ว่าเขาจะคิดถึง “การชนะ” เป็นจุดมุ่งหมายปลายทางก็ตาม
แต่เขากลับทำใจในจุดหมายหนึ่ง คือ ปรารถนาที่จะตีลูกอย่างวิเศษหรือให้มองดูว่า
“เก่ง” ในการตีลูกตบเป็นต้น
การที่จุดมุ่งหมายอื่นเข้ามาแทรก จึงไม่สามารถถึงจุดมุ่งหมายเดิม คือ
การชนะในการเล่นเทนนิสได้ เป็นต้น
ขั้นที่ 5 สิ่งสำคัญเป็นอันดับแรก
(First important priority) หรือเรียกย่อๆ ว่า PIP
เป็นการช่วยให้บุคคลประเมินทางเลือกที่มีอยู่หลายทาง
แล้วตัดสินใจเลือกทางที่ดีที่สุด เช่น การตัดสินใจซื้อของบางอย่าง
เราก็คงคำนึงถึงความจำเป็นที่สุดเป็นอันดับแรกจึงตัดสินใจเป็นต้น
ส่วนใหญ่คนเรามักจะตัดสินใจทำอะไรจากความรู้สึก ซึ่งไม่ใช่ความคิด
ขั้นที่ 6 ทางเลือก ทางที่อาจเป็นไปได้
หรือการเลือก เรียกย่อว่า APC ช่วยค้นหาทางเลือกที่เป็นไปได้
เช่น ในการคิดค้นการทำหลอดไฟฟ้าของเอดิสัน แสดงให้เห็นทางเลือกหลายๆ ทาง คือ
เขาพยายามใช้วัสดุ แปลกๆ ไปกว่าที่คนอื่นเคยคิดว่าสามารถทำไส้หลอดไฟฟ้าได้นับพันๆ
ชนิด รวมทั้งจุกไม้คอร์ก เชือกสายเบ็ด จนในที่สุดประสบความสำเร็จจากเส้นใยคาร์บอน
เป็นต้น
ขั้นที่ 7 ความคิดเห็นจากด้านอื่นๆ
หรือเรียกว่า OPV เป็นการมองความคิดจากภายนอก
หรือทำเสมือนว่าคนภายนอกคิดอย่างไรต่อนั้นๆ หรือมองปัญหาในแง่ของคนอื่น
หรือเป็นการมองปัญหาโดย “เอาใจเขามาใส่ใจเรา” ซึ่งจะช่วยให้มองปัญหาและแก้ปัญหาต่างๆ ได้ดีขึ้น ตัวอย่างเช่น
เจ้าของรถยนต์ไปซื้อวิทยุติดรถยนต์เครื่องใหม่ ซึ่งผู้ขายแนะนำว่าดีที่สุด
เหมาะสมที่สุด แต่เมื่อนำมาติดตั้งจริงๆ แล้ว มิได้มีคุณภาพดีกว่าเดิม
เจ้าของรถยนต์โมโหแล้วและไปทวงเงินคืน แต่เขาลองสมมติว่า ถ้าเขาเป็นคนขายวิทยุ
เขาจะพบว่า ในวันหนึ่งๆ ของคนขายต้องปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพของวิทยุเป็นจำนวนมากราย
ซึ่งอาจผิดพลาดได้ ดังนั้นเขาจึงเปลี่ยนใจ
โดยนำเครื่องไปแลกเครื่องใหม่ที่มีคุณภาพดีกว่าซึ่งผู้ขายก็ไม่ได้คิดเงินเพิ่ม
ก็เป็นการแก้ปัญหาที่ดี
หากได้ลองคิดอย่างมีประสิทธิภาพ 7 ขั้น
คิดถึงทุกๆ ด้าน มองปัญหาให้ครองคลุม คิดถึงผลที่จะเกิดตามมา
ยึดจุดประสงค์ปลายทางไว้ให้มั่น ว่าอะไรเป็นสิ่งที่สำคัญอันดับหนึ่ง
คิดถึงทางเลือกที่จะเป็นไปได้ อะไรที่คนอื่นเขาคิด
แล้วคงช่วยในการคิดมีประสิทธิภาพและเกิดความคิดสร้างสรรค์ได้
เอกสารอ้างอิง
อารี
พันธ์มณี (2540),
คิดอย่างสร้างสรรค์ , ต้นอ้อ แกรมมี จำกัด : กรุงเทพฯ
“………..” เทคนิคการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ : Thinking for success
What may you suggest in regards to your publish that you simply made a few days ago? Any sure? เล่นบาคาร่าคลิกที่นี่
ตอบลบpg สล็อต เล่นอย่างให้แตกง่าย มาที่นี่สิ เว็บเปิดใหม่แตกง่าย2022
ตอบลบพีจี slot เล่นง่ายแตกดี
The new direct web slot website of the year 2022 is stable and safeเกมสล็อตพีจี เว็บตรงเปิดใหม่2022
ตอบลบstuff you post.คอมพิวเตอร์สมัยก่อน
ตอบลบ